ค่า EC คืออะไร ตอนที่2 (จบ)

Last updated: 7 เม.ย 2563  |  21536 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่า EC คืออะไร ตอนที่2 (จบ)

เมื่อเราทราบวิธีการวัดค่า EC และหลักการที่เกี่ยวกับค่า EC จากตอนที่แล้ว เราก็จะสามารถปรับการผสมปุ๋ยหรือธาตุอาหารของพืชให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของปลูกในแต่ละช่วงได้ ซึ่งพืชแต่ละชนิดและต่อละช่วงการปลูกจะมีความต้องการปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่ไม่เท่ากัน มาติดตามกันได้เลยครับ

ความต้องการปุ๋ยหรือธาตอาหารที่มีความเข้มข้น (ค่า EC) ที่ต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลักต่อไปนี้ครับ

1. ชนิดและสายพันธุ์พืช 

2. อายุพืชหรือช่วงการเติบโต และ

3. สภาพอากาศ หรือ ฤดูกาล

  1. ชนิดและสายพัธุ์พืช
    พืชชนิดหรือสายพันธุ์ต่างๆ ส่งผลต่อความต้องค่าปุ๋ยที่มีค่า EC ต่างกันเนื่องจากพืชแต่ละสายพันธุ์มีอัตตราการคายน้ำจากปากใบไม่เท่ากัน  การคายน้ำจากปากใบของพืชนั้นทำให้เกิดแรงดันที่รากของพืช ซึ่งรากของพืชในแรงดันดังกล่าวในการดูดน้ำที่เข้าไปหล่อเลี้ยงต้นพืชนั้นเอง หากเราให้น้ำปุ๋ยที่มีความเข้มข้นหรือค่า EC สูงกว่าความต้องการของพืชนั้นๆ จะทำให้พืชจะไม่สามารถดูดซึมน้ำที่ได้อย่างพียงพอ และทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ท้ายที่สุดพืชจะเกิดภาวะขาดน้ำและธาตุอาหารตามมา เราจึงต้องทำการศึกษาความเข้มข้นของปุ๋ยหรือค่า EC ที่พอเหมาะกับความต้องการของพืชที่ปลูก สำหรับค่า EC ที่มีความเหมาะสมกับ คิโมจิ เมล่อนญี่ปุ่นนั้นดูได้จากที่นี้เลยครับ (คลิ๊ก)
  2. อายุของพืช
    โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งช่วงอายุของพืช (พืชล้มลุก) ได้เป็น 3 ช่วงหลักดังนี้
    1. ช่วงต้นกล้า ช่วงเริ่มแรกการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ เมื่อพืชงอกออกจากเมล็ดพืชจะใช้พลังงานและอาหารจากใบเลี้ยงเป็นหลักการกำหนด ค่า EC ที่เหมาะสมในระยะนี้ควรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30-50 ของค่าสูงสุดสำหรับพันธุ์นั้นๆ
    2. ช่วงเจริญเติบโต หรือช่วงที่ทำการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง หรือโรงเรือนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้สารอาหารมากในการสร้างส่วนต่างๆ ของ ราก ลำต้น ใบ รวมไปถึง ดอก นั้นเอง ดังนั้นเราจึงความให้ปุ๋ยที่มีค่า EC สูงประมาณร้อยละ 80-100 ของค่าสูงสุดสำหรับพันธุ์นั้นๆ
    3. ช่วงขยายพันธุ์หรือช่วงออกผล เป็นช่วงที่พืชผ่านการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่มาแล้วพืชได้ทำการสะสมอาหารและพลังงานมาไว้อย่างเต็มที่แล้ว พืชจะเริ่มใช้ธาตุอาหารใหม่น้อยลง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 50 - 70% ของค่า EC ที่เหมาะสมสำหรับพืชนั้นๆ
  3. สภาพอากาศ หรือ ฤดูกาล  
    สภาพอากาศที่ร้อนจะทำให้พืชดูดซึมน้ำในปริมาณมากเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียออกไปจากการระเหยผ่านทางปากใบ ดังนั้นหากเราให้น้ำปุ๋ยที่มีค่า EC ที่สูงเกินไป จะทำให้พืชดูดซึมน้ำได้ไม่เพียงพอและจะทำให้เหี่ยวเฉาลงได้ วิธีแก้ไขที่ดีคือ เมื่ออากาศหรืออุณหภูมิในโรงเรือนสูง เราจะต้องลดค่า EC ของน้ำปุ๋ยที่จ่ายให้ พืชเพื่อที่จะทำให้พืชสามารถดูดซึมน้ำได้ง่ายขึ้น ในการกลับกันการลดอุณหภูมิของโรงเรือนที่ปลูก หรือบริเวณการปลูก เช่น สเปย์พ่นละอองน้ำ พัดลมเป่าในโรงเรือน ม่านพรางแสง วิธีการเหล่านี้สามารถช่วยให้พืชที่เราปลูกให้สามารถดูดซึมน้ำและเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ครับ



เท่านี้เราก็สามารถใช้ค่า EC เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะทำให้เราปลูกพืชต่างๆ ให้ได้ผลตามต้องการ และหากสนใจที่จะปลูก คิโมจิ เมล่อนญี่ปุ่น F1 สายพันธุ์แท้ นำเข้าโดยตรงจากประเทศต้นตำรับ คลิ๊กได้ เลยครับผม

สั่งซื้อเมล็ดพันธ์เมล่อนญี่ปุ่นคลิ๊ก

สั่งซื้อเครื่องวัดค่า EC คลิ๊ก

สอบถามเพิ่มเติม คลิ๊ก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้