ค่า pH คืออะไร ทำไมต้องวัด pH น้ำ?

Last updated: 7 เม.ย 2563  |  64342 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่า pH คืออะไร ทำไมต้องวัด pH น้ำ?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการปลูกพืชนั้นน้ำมีความสำคัญต่อพืชมากที่สุดเนื่องจากน้ำเป็นตัวนำพาสารอาหารให้แก่พืชและเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสงอีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราจะมาติดตามหนึ่งในคุณสมบัติของน้ำ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำกันครับ

ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือค่าpH นั้นถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1909 โดยมีหลักการในการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างโดยมีช่วงการวัดระหว่างค่า 0-14 มีค่ากลางที่ค่า pH 7  หากค่าต่ำกว่า pH 7 นับว่ามีความเป็นกรดและในทางกลับกันหากค่า pH มากกว่า 7 นั้นนับว่ามีค่าเป็นด่าง

 

ในด้านการวัดค่า pH ของน้ำนั้นมีวิธีที่ได้รับความนิยม 2 วิธีหลักคือ

1) การใช้กระดาษลิตมัสทดสอบและเทียบสี

2)การใช้ pH Meter ที่มีหน้าจอแสดงผลค่า pH

กระดาษลิตมัส

 

pH Meter


หากค่า pH มีความเหมาะสมพืชก็จะสามารถที่จะดูดธาตุอาหารเข้าไปใช้ได้โดยง่ายและมีประสิทธิ โดยทั่วไปค่าความเป็นกรด-ด่างที่ความเหมาะสมคือค่าช่วงที่อยู่ในความเป็นกรด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิดด้วย ยิ่งเป็น
กรดมากเท่าใดยิ่งจะทำให้พืชดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น

 

ดังนั้น การปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำจึงเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญมาก โดยช่วงของค่า pH ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอายุการปลูกและชนิดของพืชนั้นๆ โดยปกติจะมีค่าอยู่ในช่วง 5.5 - 7.0 แต่ค่าที่ดีที่สุดต่อการละลายตัวของธาตุอาหารจะอยู่ที่ 5.8 - 6.3 สำหรับสายพันธุ์ คิโมจิเมล่อนนั้นค่า pH ที่มีความเหมาะสมจะอยู่ที่ 5.8-6.5 ครับ (รายละเอียดคลิ๊กเลยครับ) สำหรับผู้ที่น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำหลักในการเพาะปลูกในฟาร์ม เราควรที่จะหมั่นตรวจสอบค่า pH เป็นประจำน้ำเนื่องจากน้ำบาดาลมักมีค่าความเป็นด่างสูง


เมื่อเราทำการตรวจสอบค่า pH แล้วเราสามารถปรับให้ได้ความเป็นกรด-ด่างที่ต้องการได้โดยเติมสารต่างๆ ลงในน้ำ ซึ่งสารตั้งต้นที่นิยมมีใช้เพื่อเพิ่มความเป็นกรด (หรือลดความเป็นเบส) ของน้ำคือ กรดไนตริก (Nitric Acid, NHO3) ซึ่งกรดชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย ไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช และกรดที่นิยมใช้อีกชนิดหนึ่งคือ กรดฟอสฟอริก (Phosphoric Acid, H3PO4) ซึ่งกรดชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย เป็นฟอสฟอรัส  สารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์และสำคัญต่อพืชผล ถือได้ว่าเป็นธาตุอาหารหลักของพืชพันธุ์ต่างๆ ก็ว่าได้ 

 

ข้อควรระวัง

  • ค่า pH ที่ต่ำกว่า 4 ไม่เหมาะสมในการใช้ปลูกพืชเนื่องจากว่ามีความเป็นกรดมากเกินไปอาจทำให้รากของพืช โดนกัดกร่อนและเน่าได้ง่าย
  • ค่า pH ที่มากกว่า 7 ถ้าถูกปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วัน จะมีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารของพืช เช่น ฟอสฟอรัส, เหล็ก, แมงกานีส ทำให้พืชโตช้าได้ครับผม

 

สนใจสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์เมล่อนคิโมจิสายพันธุ์แท้จากญี่ปุ่นสามารถ คลิกที่นี่ได้เลยครับ

หากมีคำถาม สอบถามเราได้เลยครับ คลิ๊ก

สั่งซื้อเครื่องวัดค่า EC และ pH คลิ๊กได้เลยครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้